วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนา
1) วิสัยทัศน์
“มุ่งมั่นสร้างสรรค์ให้สันมหาพน เป็นชุมชนที่น่าอยู่และยั่งยืน”
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนา
จากการรวบรวมข้อมูลและการจัดประชุมประชาคมระดับตำบล การประชุมคณะกรรมการพัฒนาเทศบาล โดยการนำข้อมูลวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในองค์กร เพื่อช่วยในการกำหนด จุดแข็ง(Strength) จุดอ่อน(Weakness) โอกาส(Opportunity) เพื่อนำผลการวิเคราะห์ ให้มีความสอดคล้อง แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาภาค แผนพัฒนาจังหวัด ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น สามารถนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ ตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมายของการพัฒนาเป็น 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสานศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชนสังคมและรักษาความสงบเรียบร้อย
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
3) เป้าประสงค์
1. สนับสนุนให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ ตอบสนองนโยบายแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนของประชาชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีและ มีมาตรฐานทั้งด้านสุขภาพอนามัย การศึกษา สวัสดิการสังคม
2. ส่งเสริมและให้ความรู้การประกอบอาชีพของประชาชน ด้านการเกษตร การค้า การลงทุนโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
3. การปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการให้ได้มาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
4. สนับสนุนกิจกรรมการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทำนุบำรุงศาสนา
5. ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การสร้างเครือข่ายอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) เพื่อป้องกันดูแลความสงบเรียบร้อยของชุมชน
6. การปรับปรุงและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูอนุรักษ์ธรรมชาติ ปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดเก็บขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูล และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
7. การส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและความร่วมมือของหน่วยงาน ต่าง ๆ ในการพัฒนาเทศบาล การส่งเสริมและปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ การตอบสนองนโยบายการขจัดการทุจริตคอรัปชั่น และการพัฒนาระบบความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
4) ตัวชี้วัด, กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต
กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา |
ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ |
1.1 การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต |
เชิงปริมาณ 1. จำนวนของเด็กและเยาวชนที่ได้รับบริการการศึกษาได้รับการพัฒนาที่ดีเพิ่มขึ้น เชิงคุณภาพ 1. ร้อยละของจำนวนเด็กที่ไม่รู้หนังสือไม่ได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาลดลง |
1.2 การส่งเสริมสุขภาวะของชุมชน |
เชิงปริมาณ 1. จำนวนของประชาชนมีสุขภาวะที่ดีเพิ่มขึ้น เชิงคุณภาพ 1. จำนวนร้อยละของประชาชนที่มีปัญหาด้านสุขภาวะลดลง |
1.3 การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส |
เชิงปริมาณ 1.จำนวนของผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ได้รับการบริการด้านสังคมขั้นพื้นฐานที่มีมาตรฐานขึ้น เชิงคุณภาพ 1. จำนวนร้อยละของผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ที่ถูกทอดทิ้งไม่ได้รับการดูแลขั้นพื้นฐานลดลง |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา |
ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ |
2.1 การสร้างและพัฒนาการรวมกลุ่ม |
เชิงปริมาณ 1. จำนวนครัวเรือนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันทำให้รายจ่ายลดลง เชิงคุณภาพ 1. จำนวนร้อยละของครัวเรือนที่มีปัญหาด้านค่าใช้จ่ายในครัวเรือนลดลง |
2.2 การเสริมสร้างเกษตรทฤษฎีใหม่ |
เชิงปริมาณ 1. จำนวนเกษตรกรได้รับการส่งเสริมความรู้ด้านพืชและสัตว์เพิ่มขึ้น เชิงคุณภาพ 1. จำนวนร้อยละของเกษตรที่ได้รับการแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา |
ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ |
3.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร |
เชิงปริมาณ 1. จำนวนร้อยละระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรที่มีมาตรฐานเพิ่มขึ้น เชิงคุณภาพ 1. ร้อยละของประชาชนที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาคมนาคมในพื้นที่ |
3.2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง |
เชิงปริมาณ 1. จำนวนร้อยละของถนน รางระบายน้ำที่มีมาตรฐานเพิ่มขึ้น เชิงคุณภาพ 1. ร้อยละของประชาชนที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาคมนาคมในพื้นที่ |
3.3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ |
เชิงปริมาณ 1. จำนวนร้อยละของระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ที่มีมาตรฐานเพิ่มขึ้น เชิงคุณภาพ 1. ร้อยละของประชาชนที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาคมนาคมในพื้นที่ |
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสานศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา |
ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ |
4.1 การเชื่อมโยงวิถีชีวิตชุมชนกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
|
เชิงปริมาณ 1. จำนวนโครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่จัดขึ้น เชิงคุณภาพ 1. ร้อยละของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี เพิ่มขึ้น |
4.2 การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม |
เชิงปริมาณ 1. จำนวนโครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่จัดขึ้น เชิงคุณภาพ 1. ร้อยละของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี เพิ่มขึ้น |
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชนสังคมและรักษาความสงบเรียบร้อย
กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา |
ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ |
5.1 กระตุ้นการมีส่วนร่วมโดยมุ่งเน้นทุกภาคส่วนในชุมชน |
เชิงปริมาณ 1. จำนวนสมาชิก อปพร. ที่มีจิตอาสาเพิ่มจำนวนขึ้น เชิงคุณภาพ 1. ร้อยละของประชาชนที่มีส่วนร่วมในการร่วมกิจกรรม |
5.2 การป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม อบายมุขและสิ่งเสพติด |
เชิงปริมาณ 1. จำนวนผู้มีความรู้ในการแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้น เชิงคุณภาพ 1. ร้อยละของจำนวนปัญหาอาชญากรรมลดลง |
5.3 เสริมสร้างประสิทธิภาพในการรักษาความสงบปลอดภัยให้แก่ชุมชน |
เชิงปริมาณ 1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการช่วยเหลือชุมชนเพิ่มมากขึ้น เชิงคุณภาพ 1. ร้อยละของปัญหาอาชญากรรม อบายมุข และ สิ่งเสพติดลดลง |
5.4 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
เชิงปริมาณ 1. ประสิทธิภาพการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีมาตรฐานมากขึ้น เชิงคุณภาพ 1. ร้อยละของปัญหาสาธารณภัยในชุมชนลดลง |
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา |
ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ |
6.1 ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
|
เชิงปริมาณ 1.จำนวนโครงการที่รณรงค์ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น เชิงคุณภาพ 1. ร้อยละของอัตราการทำลายทรัพยากรธรรมชาติลดลง |
6.2 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
เชิงปริมาณ 1. กิจกรรมที่ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย เชิงคุณภาพ 1. จำนวนร้อยละของปริมาณขยะลดลง |
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
กลยุทธ์ / แนวทางการพัฒนา |
ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ |
7.1 สร้างจิตสำนึกและพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรภาครัฐ |
เชิงปริมาณ 1. จำนวนบุคลากรได้เข้ารับการอบรมเพิ่มขึ้น เชิงคุณภาพ 1. ร้อยละของจำนวนบุคลากรที่ไม่มีความชำนาญงานลดลง |
7.2 การเสริมสร้างประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ |
เชิงปริมาณ 1. จำนวนโครงการที่เทศบาลดำเนินการประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและตรวจสอบได้ เชิงคุณภาพ 1. ร้อยละของจำนวนโครงการมีการบริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาล โดยประชาชนเข้าร่วมตรวจสอบ |
7.3 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการและการตรวจสอบควบคุม |
เชิงปริมาณ 1. จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เชิงคุณภาพ 2. ระดับความสำเร็จของการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ตรวจสอบ การดำเนินการตามโครงการของเทศบาล |
5) ค่าเป้าหมาย
1. เพื่อให้ประชาชนมีการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการสุขอนามัย การศึกษา และการบริการด้านสังคมขั้นพื้นฐานที่เหมาะสม มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
1.1 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี ลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาล และป้องกัน แก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
1.2 เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการมีความรู้และความเข้าใจในการการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในด้านการรักษาสุขภาวะ
1.3 เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาทุกระดับในเขตเทศบาล และส่งเสริมการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
1.4 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งในและนอกระบบแก่เด็ก เยาวชน และผู้สนใจทั่วไปในชุมชน
1.5 เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มของเยาวชนและประชาชนในเขตพื้นที่ เกิดการสร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
1.6 เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้รับการดูแลสวัสดิการขั้นพื้นฐาน
1.7 เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคมแก่ชุมชนในเขตเทศบาล
2. เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของจังหวัด และพัฒนาบนพื้นฐานศักยภาพหลักของตนเอง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
2.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพประจำหมู่บ้านให้ดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง
2.2 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มอาชีพพัฒนาอย่างสอดคล้องกับการพัฒนาจังหวัด
2.3 เพื่อให้สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
2.4 เพื่อให้ประชาชนมีทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ
2.5 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรและส่งเสริมการแปรรูปพืชผลทางการเกษตร เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน
3. เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานของท้องถิ่นในด้านการคมนาคม การขนส่ง สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชน การพัฒนาด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการเกษตร มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
3.1 เพื่อจัดเก็บรวบรวมข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลหลักของโครงสร้างพื้นฐาน
3.2 เพื่อร่วมกับหน่วยงานอื่นทบทวนแผนด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐาน ลดความซ้ำซ้อน
3.3 เพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสนับสนุนการปฏิบัติงาน และการตัดสินใจของผู้บริหาร
3.4 เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางสัญจรไปมา
3.5 เพื่อให้ประชาชนมีน้ำดื่ม น้ำใช้ ที่สะอาดถูกหลักอนามัย อย่างทั่วถึงและเพียงพอ
3.6 เพื่อให้ประชาชนมีแหล่งน้ำเพื่อใช้น้ำ เพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอต่อการทำงาน
3.7 เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีสถานที่ในการประกอบพิธีฌาปนกิจ
4. เพื่อให้ชุมชนมีความรักและหวงแหน ภาคภูมิใจ มีส่วนร่วมในการ สืบทอดวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีคุณธรรม จริยธรรม มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
4.1 เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น
4.2 เพื่อส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรมแก่เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่น
4.3 เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมแก่ชุมชน
4.4 เพื่อให้เยาวชนและประชาชนลด ละ เลิก อบายมุข และประพฤติตัวในทางที่พึงประสงค์
5. เพื่อให้มีชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ปลอดภัยทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินสามารถป้องกันและบรรเทาสาธารภัยต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตน มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
5.1 เพื่อให้เทศบาลและชุมชนมีศักยภาพในการป้องกันและบรรเทาสาธารภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างความสงบสุข ปลอดภัยทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สิน
5.3 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและเสริมสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตน
5.4 เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มต่างๆ ในชุมชน ให้ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.5 เพื่อให้ชุมชนมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความสามัคคีของคนในชุมชน
5.6 เพื่อให้ประชาชนสามารถช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และชุมชนในเบื้องต้นหากเกิดสาธารณภัยขึ้น
6. เพื่อให้ประชาชนร่วมดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ และการดูแลรักษาที่สาธารณะ รวมถึงการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
6.1 เพื่อให้ระบบการระบายน้ำเป็นไปอย่างคล่องตัว ลดปัญหาน้ำท่วมขัง น้ำเน่าเสีย และการเกิดอุทกภัย
6.2 เพื่อป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากอุทภัย และภัยธรรมชาติ
6.3 เพื่อบรรเทาปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล และปัญหาขยะตกค้างในชุมชน
6.4 เพื่อให้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย แก่ประชาชนในท้องถิ่น
6.5 เพื่ออนุรักษ์สภาพแวดล้อม และภูมิทัศน์ให้สะอาด สวยงาม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาเชียงใหม่เป็นเมืองน่าอยู่ “Green and Clean”
6.6 เพื่อให้มีกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และรณรงค์การรักษาสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน
6.7 เพื่อให้เทศบาลมีระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ
7. เพื่อให้การบริหารจัดการของเทศบาลมีความโปร่งใส เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพสามารถตอบสนองและสอดคล้องต่อแนวทางการพัฒนาจังหวัดและความต้องการของชุมชน มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
7.1 เพื่อให้บุคลากรมีศักยภาพให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ และให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.2 เพื่อส่งเสริมการตรวจสอบ การควบคุมภายในเทศบาล อย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
7.3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนร่วมตรวจสอบความโปร่งใสในการบริหารจัดการงานภายในเทศบาล
7.4 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ในด้านการบริหารจัดการให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว สะดวก เป็นธรรม และประชาชนมีความพึงพอใจ